เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

เทคนิคการเขียน



6 เทคนิคการเขียน Mind Mapping

Mind Mapping

1. เริ่มวาดที่จุดกึ่งกลางของกระดาษก่อน

เพราะว่าการเริ่มต้นที่จุดกึ่งกลางจะทำให้สมองของเราเป็นอิสระ พร้อมที่แตกหน่อความคิดออกไปยังทุกทิศทางเรียงตามลำดับที่เราต้องการได้เลย

2. ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบ

เพราะว่ารูปภาพมีความหมายนับล้านคำและยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวอีกด้วย ภาพที่อยู่ตรงกึ่งกลางเราควรที่จะทำให้เด่น ดูน่าสนใจ จะช่วยทำให้เรามีจุดโฟกัสที่แน่นอน

3. ใช้ปากกาหลากหลายสี

มาเติมแต่ง Mind Mapping ของเรา
สีจะทำให้สมองของเราได้ตื่นตัว สีสันจะทำให้ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น แถมการนั่งวาดภาพระบายสียังทำให้เราได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ไปในตัวอีกด้วย

เราจะคิดได้ ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน เพราะว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากันนะ


4. วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลาง

แล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกมาตามที่สมองเราจะคิดได้ ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน เพราะว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากันนะ


5. วาดเส้นกิ่งให้โค้งดีกว่าวาดแบบเส้นตรง

เพราะเส้นตรงมันดูน่าเบื่อและไม่น่าสนใจนั่นเอง

6. ใช้เพียงแค่คีย์เวิร์ดเท่านั้น

สำหรับเส้นกิ่งแต่ละเส้นควรใช้คำที่สั้นๆ หรือที่เป็นคีย์เวิร์ดเข้าใจง่าย เพราะการที่เราใช้คำที่เป็นคีย์เวิร์ดนั้น จะทำให้เราสามารถยืดหยุ่น Mind Mapping ได้ดียิ่งขึ้นและจำได้เร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นจุดเด่นทำให้เราสามารถอ่านได้ง่าย
————————————–
ภาพจาก :
https://www.mindtools.com/pages/article/newISS_01.htm

ขั้นตอนในการเขียน Mind mapping



การทำแผนภูมิความคิดหรือ Mind Mapping ถือเป็นการกระตุ้นสมอง ให้เกิดความคิดที่เป็นอิสระจากปัญหาที่เป็นศูนย์กลาง ออกไปสู่วิธีแก้ปัญหาต่างๆ ที่แปลกและแตกต่างจากเดิม
ซึ่งสามารถทำได้โดยเริ่มจากการเขียนสาเหตุของปัญหาไว้กลางหน้ากระดาษ แล้วลากเส้นโยงออกมารอบๆ
1f5e988a-5709-47c3-984f-d0920e052b50
1. เริ่มวาดที่จุด “กึ่งกลาง” ของกระดาษก่อน เพราะว่าการเริ่มต้นที่จุดกึ่งกลางจะทำให้สมองของเราเป็นอิสระ พร้อมที่แตกหน่อความคิดออกไปยังทุกทิศทางไงละ
2. ใช้รูปภาพหรือวาดรูปประกอบไอเดียที่คุณเพิ่งจะเขียนไปตรงจุดกึ่งกลาง เพราะว่ารูปภาพมีความหมายนับล้านคำ และยังช่วยให้เราได้ใช้จินตนาการไปในตัวด้วย ภาพที่อยู่ตรงกึ่งกลางจะดูน่าสนใจเพิ่มขึ้นทำให้เรามีจุดโฟกัสที่แน่นอน
3. ใช้สีหลากสีสัน สีจะทำให้สมองของคุณได้ตื่นตัว สีสันจะทำให้ดูมีชีวิตชีวาน่าอ่านมากยิ่งขึ้น แถมการนั่งวาดภาพระบายสีมันก็ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์ด้วยนะ
4. วาด “กิ่ง” ออกมาจากภาพตรงกลางแล้วแตกกิ่งก้านสาขาออกมาตามที่สมองเราจะคิดได้ ต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน เพราะว่าสมองของมนุษย์ทำงานแบบเชื่อมโยงเข้าหากัน
5. วาดเส้นกิ่งให้ “โค้ง” ดีกว่าวาดแบบ “เส้นตรง” เพราะเส้นตรงมันดูน่าเบื่อ และไม่น่าสนใจ
6. ใช้เพียงแค่ “คีย์เวิร์ด” เท่านั้น สำหรับเส้นกิ่งแต่ละเส้นและคีย์เวิร์ดต้องอยู่บนเส้น เหตุผลที่เขียนเฉพาะคีย์เวิร์ดก็เพราะว่า คีย์เวิร์ดแบบโดดๆจะทำให้แม็พของคุณดูมีพลังและยืดหยุ่นได้นั่นเอง
ข้อมูลจาก: oknation

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ประโยชน์ Mind mapping

ประโยชน์ของ Mind Map สามารถนำไปใช้กับงาน HR ได้อย่างไร


  1. ช่วยในการจัดระเบียบความคิด ให้สามารถคิดได้ทั้งแบบ คิดกว้าง และคิดลึก – คิดกว้าง คือ คิดออกไปรอบ ๆ ด้าน ไม่เกี่ยวข้องกัน คนละประเด็น คนละเรื่อง เหมาะกับการ Brain Storm – คิดลึก คือ คิดเชื่อมโยง แตกแยกย่อย ลงไปในรายละเอียด เชื่อมโยงในเส้นเดียวกัน เช่นจากโลก>แผ่นดิน>ทวีป>ภูมิภาค>ประเทศ>จังหวัด>เขต…
  2. ช่วยการเห็นภาพรวมของความสัมพันธ์ในองค์กรได้จากกระดาษแผ่นเดียว ทำให้เข้าใจ Organization Chart ได้รวดเร็วขึ้น
  3. ช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจ และช่วยเหลือได้
  4. ช่วยในการจัดลำดับความสำคัญก่อน – หลัง อะไรเป็นเรื่องหลักและอะไรเป็นเรื่องที่แตกย่อยสามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย
  5. สามารถคิดต่อยอดได้ เมื่อเห็นภาพรวม ก็สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปคิดต่อได้ในการบริหารพนักงานแต่ละคนอย่างเหมาะสม
  6. ช่วยให้คนจดจำได้ ทบทวนได้ง่าย เมื่อ Train พนักงาน ให้จดบันทึกด้วย Mind Map จะทำให้พนักงานไม่ลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป